นวัตกรรมการเรียนรู้กับการอยู่รอดบนโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง
26 ม.ค. 2022
การเรียนรู้ตลอดชีวิตคืออะไร?
การเรียนรู้ตลอดชีวิตหมายถึงกระบวนการพัฒนาที่เกิดขึ้นในตัวบุคคล จากการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ รวมไปถึงประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษา หรือเกิดจากวิถีชีวิตเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และก่อให้เกิดการเรียนรู้ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งวันสุดท้ายของชีวิต และนี่คือแนวคิดพื้นฐานของการเกิดนวัตกรรมการศึกษานั่นเอง
“ในปัจจุบันนี้ โลกของเราหมุนเร็วและดูเหมือนจะเร็วขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆ วัน คำถามก็คือ ผู้นำทั้งหลายจะจัดการกับความท้าทายที่เกิดขึ้นและจะนำพาองค์กรหรือประเทศชาติให้ก้าวได้อย่างมั่นคงและทันกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ได้อย่างไร? ในเมื่อทั่วโลกต่างก็ยอมรับไปในทางเดียวกันว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกวินาทีนี้ เป็นสิ่งที่ผู้นำทั้งหลายไม่เคยคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นมาก่อน
หากมองย้อนไป 10 ปีที่แล้ว อาจจะไม่มีใครคาดคิดมาก่อนเลยว่าปัญหาเศรษฐกิจของประเทศเล็กๆ ที่อยู่กันคนละซีกโลก เช่น เศรษฐกิจของประเทศกรีซจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องในประเทศไทย สาเหตุเป็นเพราะว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ภายในประเทศหรือภูมิภาคอีกต่อไปแล้ว แต่กลายเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นจริงบนโลกที่ไม่หยุดนิ่ง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มความซับซ้อนขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง”
และนี่คือสิ่งที่เรียกว่า ‘Disruption’ แม้ว่าในภาษาไทยจะยังไม่มีคำอธิบายและคำจำกัดความโดยตรง แต่ภาพที่เห็นมันคือเรื่องของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รุนแรง และคาดเดาได้ยาก ซึ่งมันเป็นได้ทั้งความท้าทายและโอกาสของใครหลายๆ คนด้วยเช่นกัน
การ Disrupt สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกอุตสาหกรรม มันถือเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกวินาทีด้วยคนรุ่นใหม่ คลื่นลูกใหม่ที่มีวิธีคิดและเครื่องมือที่แตกต่างจากรูปแบบเก่าอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับนักธุรกิจใหญ่ที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่มาแล้วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จนเราอาจพูดได้ว่า คนรุ่นใหม่เหล่านี้กำลังเข้ามาวัดรอยเท้าและเข้ามาโค่นระบบธุรกิจดั้งเดิมรวมถึงนวัตกรรมในองค์กรแบบเก่าที่ไม่คิดปรับตัวอย่างไม่ลังเล และนั่นจึงเป็นจุดกำเนิดของนวัตกรรมการศึกษาที่มีแนวคิดพื้นฐานมาจากการปรับตัวให้เข้ากับโลกยุคใหม่
การปรับตัวขององค์กรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงคือสิ่งจำเป็น
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กฏเกณฑ์ต่างๆ ของการดำเนินธุรกิจจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนไป เพื่อปรับให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจที่ทุกองค์กรต่างต้องปรับตัวและปรับให้มีการสร้างนวัตกรรมในองค์กรเพื่อความอยู่รอด ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี เรื่องสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ประสิทธิผลหรือผลงานขององค์กรขึ้นอยู่กับความสามารถขององค์กรในการเรียนรู้ถึงสถานการณ์ แนวคิด เทคนิคการดำเนินงาน และเทคโนโลยีต่างๆ จากภายนอก รวมไปถึงการเรียนรู้จากประสบการณ์ของแต่ละบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อหยิบมาปรับตัว ปรับปรุงพัฒนาคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้ (Innovation) อันเป็นแนวคิดพื้นฐานของการเกิดนวัตกรรมการศึกษา
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง นั่นแปลว่า นวัตกรรมกลายมาเป็นตัวตัดสินชี้ชะตาความอยู่รอดของทุกๆ องค์กร บริษัทต่างๆ ก็ล้วนแล้วแต่ต้องการนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อที่จะรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดและเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ และการพัฒนาองค์กรให้มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมได้นั้นขึ้นอยู่กับผู้นำองค์กร ผู้บริหารระดับสูงที่ต้องมีความเชื่อ มีความเข้าใจในเรื่องนวัตกรรม ต้องมีความมุ่งมั่นในการสร้างนวัตกรรมในองค์กร ไม่ว่าจะด้วยการทำให้บรรยากาศง่ายต่อการเกิดความคิดสร้างสรรค์ การเปิดโอกาสให้ทุกคนได้คิดสร้างสรรค์และนำเสนอแนวความคิดได้อย่างอิสระ กล้าที่จะเสี่ยง ไม่ตีกรอบความคิด ไม่ลงโทษคนที่ทำผิดพลาด แต่ให้มองเป็นเรื่องของการเรียนรู้ หรืออีกแง่หนึ่งคือนำเอา process เรื่องการสร้างนวัตกรรมมาใช้อย่างจริงจัง สอนทั้ง skillset และปรับ mindset ในองค์กร เท่านี้ก็จะช่วยส่งเสริมเรื่องนวัตกรรมในองค์กร และสร้างให้เกิดแนวคิดพื้นฐานของการเกิดนวัตกรรมการศึกษาภายในองค์กรได้
ธุรกิจในไทยกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่
สิ่งที่สำคัญคือต้องเข้าใจว่าการสร้างนวัตกรรมในองค์กรนั้น ไม่ใช่แค่เพียงเรื่องผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเรื่องวิธีการคิด การทำงาน วิธีที่องค์กรปฏิบัติและใช้จูงใจพนักงาน วิธีเตรียมความพร้อมผู้นำ และวิธีบริหารจัดการธุรกิจด้วย แม้นวัตกรรมดูจะเป็นเรื่องง่าย แต่ความท้าทายอยู่ที่การผลักดันเพื่อให้เกิดการนำไปใช้จริงรวมไปถึงการสร้างแนวคิดพื้นฐานของการเกิดนวัตกรรมการศึกษาให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กร
จากผลสำรวจที่ทาง SEAC ได้ทำเมื่อครั้งยังเป็นบริษัทเอพีเอ็ม กรุ๊ป ในปี 2012 พบว่าคุณสมบัติในเรื่องของ “ความสามารถในการปรับตัวเพื่อพร้อมรับกับความไม่แน่นอน” (Resilience through Uncertainty and Ambiguity) และ “ความสามารถในการแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างฉับไวและสร้างสรรค์” (Flexibility to Improvise and Innovate) ยังเป็นจุดอ่อนในลำดับต้นๆ ของผู้บริหารชาวไทย
แล้วอะไรเป็นสาเหตุทำให้คนไทยไม่แข็งแรงในการอยู่กับความคลุมเครือและความไม่แน่นอน?
ความเห็นจากการวิจัยพบว่า เราอยู่อย่างคาดการณ์ได้มานาน อาทิ พื้นฐานวิถีความเป็นอยู่อย่างไทย อาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์ หรือที่มักกล่าวกันว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แผ่นดินของเราช่างอุดมสมบูรณ์” รวมถึงภูมิอากาศที่อบอุ่นตลอดปี การใช้ชีวิตจึงคาดการณ์ได้ ไม่มีความจำเป็นในการวางแผนสำหรับสภาพอากาศแบบสุดขั้ว ทำให้เราขาดความตื่นตัวในการเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง
นอกจากนี้ความเป็นไทยแบบสบายๆ ไม่เคยผ่านวิกฤตการณ์แบบชี้เป็นชี้ตาย หรือสู้รบในสงครามอย่างรุนแรง ทำให้เราไม่ได้เตรียมตัวกับภาวะคับขัน อีกมุมหนึ่งความเชื่อทางศาสนาและวิถีชีวิตก็มีส่วนเป็นอย่างมาก ที่ทำให้เราขาดความพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอน เพราะด้วยความเชื่อที่ว่า ‘เมื่อมีทุกข์ เดี๋ยวก็มีสุข ไม่มีอะไรจีรัง เรื่องเลวร้ายผ่านมาแล้วในที่สุดก็จะผ่านไป’ ส่งผลให้เรามองข้ามแนวคิดพื้นฐานของการเกิดนวัตกรรมการศึกษาอันเป็นสิ่งที่สำคัญต่อโลกในยุคนี้ไป
การ Disruption เข้ามามีบทบาทในทุกแง่มุม
ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน ในเงื่อนไขที่เรื่อง Disruption เข้ามามีบทบาทในทุกแง่มุมของชีวิต เราไม่สามารถดำเนินชีวิต ดำเนินธุรกิจแบบเดิมๆ หรือใช้นวัตกรรมในองค์กรแบบเดิมๆ ได้อีกต่อไป ยิ่งเมื่อผนวกกับพลวัตทางธุรกิจเปลี่ยนไปจากเดิม ที่การแข่งขันขีดวงจำกัดอยู่เพียงในอุตสาหกรรมเดียวกัน เมื่อเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าล้ำสมัยมากขึ้น ทำให้เส้นแบ่งเขตของแต่ละอุตสาหกรรมดูเลือนลางลงไป คู่แข่งที่น่ากลัวอาจมาจากอุตสาหกรรมอื่นที่มองเห็นโอกาส และสามารถปรับตัวได้เร็วกว่าเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบ ดังเช่นปัจจุบันที่เราจะเห็นว่าสตาร์ทอัพกำลังก้าวขึ้นมาเป็นผู้เล่นรายใหม่ที่น่าจับตามองในหลายอุตสาหกรรมและเข้ามาแทนพื้นที่องค์กรเดิมๆ ที่ไม่มีการปรับตัวให้ทันต่อโลกในยุคนี้
ผู้นำยุคใหม่จำเป็นต้องรู้จักแนวคิดพื้นฐานของการเกิดนวัตกรรมการศึกษา และเข้าใจนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อที่จะมองให้ออกว่าในอนาคต ไลฟ์สไตล์และความต้องการของลูกค้าจะเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ๆ อย่างไร อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงของประชากรและสังคม จะส่งผลต่อธุรกิจของตนไปในทิศทางใด แทนที่จะคาดการณ์ไปข้างหน้าโดยดูจากข้อมูลในอดีต โดยตระหนักว่าสิ่งต่างๆ ที่นำองค์กรมายืน ณ จุดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาจไม่สามารถนำองค์กรไปสู่จุดหมายในอนาคตข้างหน้าได้อีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม อนาคตที่เราต้องจินตนาการนั้น มันจะต้องถูกสร้างและดีไซน์ขึ้นมาเอง แต่ปัญหาของคนในองค์กรใหญ่ๆ ในปัจจุบันคือ การที่ทุกคนต้องโฟกัสอยู่กับงานในปัจจุบัน จนลืมให้ความสำคัญกับการพัฒนาไปสู่อนาคต ดังนั้นการบาลานซ์สองสิ่งนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะในโลกที่เราอยู่ทุกวันนี้ ที่ทุกอย่างกลายเป็นดิจิทัลและเร็วขึ้น ทางเดียวที่องค์กรจะตามทัน ก็คือการต้องมีความคิดสร้างสรรค์ผสมผสานกับนวัตกรรมการเรียนรู้นั่นเอง
ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์จึงต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มี Mindset เปิดกว้าง พร้อมรับความคิดเห็น มุมมอง และข้อเท็จจริงจากรอบด้าน รู้จักแนวคิดพื้นฐานของการเกิดนวัตกรรมการศึกษา มีนวัตกรรมการเรียนรู้ รวมทั้งเตรียมพร้อมรับมือกับความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทางด้วยทัศนคติด้านบวกที่เชื่อว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในวันนี้เป็นบทเรียนที่ดีเพื่อการก้าวต่อไปอย่างแข็งแกร่งขึ้นในวันหน้า แต่ต้องพร้อมจะปรับตัวให้เร็วดังคำที่ว่า “fail often, fail fast, fail cheap” ซึ่งไม่ได้หมายถึงการยอมรับความล้มเหลว หากแต่มองความล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ที่ช่วยให้องค์กรเริ่มใหม่ และมุ่งไปข้างหน้าต่อได้อย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้บริหารกับหัวหน้า คุณต้องรีบลุกขึ้นยืนจากความล้มเหลว และนำพาองค์กรก้าวเดินต่อไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
“มีเรื่องเล่าว่า จากการทดลองกว่าหนึ่งพันครั้ง ทุกครั้งที่ ทอมัส เอดิสัน ทดลองทำหลอดไฟแล้วล้มเหลว เขาจะบอกว่า เขาไม่ได้ล้มเหลว เพียงแค่เขาค้นพบอีกหนึ่งวิธีที่ไม่ใช่การทำหลอดไฟเท่านั้น หลายคนมักจะบอกว่า เอดิสันคิดบวก แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ เอดิสันเป็นนักประดิษฐ์ ซึ่งการประดิษฐ์คิดค้นก็คือ การทำอะไรบางอย่างที่ในโลกนี้ ไม่เคยมีมาก่อน นี่คือเรื่องของแนวคิดพื้นฐานของการเกิดนวัตกรรมการศึกษาที่ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมอย่างแท้จริง เพราะในกระบวนการค้นหานวัตกรรม ความล้มเหลวคือสิ่งที่ต้องเผชิญอยู่ตลอดเวลา มันคือส่วนหนึ่งของนวัตกรรมการเรียนรู้ ซึ่งนี่เองเป็นสัจธรรมของการคิดค้น ไม่เคยมีการคิดค้นใดในโลกที่ไม่ผ่านความล้มเหลวก่อนจึงจะสำเร็จ ทุกคนต้องผ่านทางนี้ทั้งนั้น”
เมื่อพูดถึงความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และคิดค้นนวัตกรรม หลายคนเชื่อว่าเป็นคุณลักษณะที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ซึ่งส่วนหนึ่งก็อาจใช่ แต่อย่างไรก็ตามเราพบว่าคนที่มีไอเดียนวัตกรรมใหม่ๆ มักไม่ได้เป็นมาตั้งแต่ต้น แต่เกิดจากการเรียนรู้ ตั้งข้อสงสัยคำถามและคิดวิเคราะห์ตนเองและโลกรอบตัว เราทุกคนสามารถมีความคิดสร้างสรรค์และคิดปฏิรูปได้โดยการสร้างคุณลักษณะที่เหล่านักคิดนวัตกรรมต่างมีกัน หรือการเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของการเกิดนวัตกรรมการศึกษาผ่าน process ต่างๆ ที่ช่วยพัฒนาความสามารถได้ด้านนี้ เช่น Design Thinking
ลองดูในอีกกรณีของ Jack Ma ก่อนที่เขาจะมาเป็นที่รู้จักเช่นในปัจจุบัน ก่อนที่จะได้ก้าวมาเป็นเจ้าของธุรกิจของ Alibaba ก่อนที่ชื่อของเขาจะได้รับการขนานนามในเรื่องของความสามารถด้านนวัตกรรมและนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ในอดีตตอนเขาเรียนหนังสือ เขาเรียนไม่เก่ง จบจากชั้นประถมจะสอบเข้าเรียนมัธยม ก็สอบไม่ผ่าน ตอนไปสมัครทำงานเคเอฟซี คนที่ไปสมัครทุกคนผ่านคัดเลือกหมดยกเว้นเขา เช่นเดียวกับตอนที่ไปสมัครสอบเป็นตำรวจ คนสมัครทั้งหมดมี 4 คน คนที่ผ่านคัดเลือกมี 3 คน และแน่นอนว่าคนเดียวที่ถูกคัดทิ้งคือเขาเช่นเคย
ทั้งที่ดูเหมือนว่าสถานการณ์น่าเศร้าและน่าท้อใจ แต่ Jack Ma เคยบอกว่า “ผมเจอความผิดหวังมาเยอะ ถูกปฏิเสธมาตลอด ทำให้ผมเคยชินกับความล้มเหลว วันนี้ไม่ได้ ก็แค่ลองใหม่ วันหน้าก็อาจเป็นวันของเราก็ได้” และยังบอกอีกว่า “การยอมแพ้ เป็นความล้มเหลวที่เลวร้ายที่สุด ถ้าคุณไม่ยอมแพ้ แต่ทำให้ดีที่สุด แม้สุดท้ายแล้วจะไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย แต่คุณก็ได้เรียนรู้อะไรบางอย่าง โดยปัจจัยสำคัญของการประสบความสำเร็จคือการเรียนรู้จากความผิดพลาด” ซึ่งนี่คือคุณสมบัติของการสร้างให้เกิดนวัตกรรม เรียกได้ว่าเป็นแนวคิดพื้นฐานของการเกิดนวัตกรรมการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความคิด เรื่องการลงมือปฏิบัติ ต่อเนื่องมาจนออกมาเป็นผลงาน
Jack Ma มี “ภูมิต้านทานความล้มเหลว” แพ้ไม่ได้แปลว่าล้มเหลวและชนะก็ไม่ได้แปลว่าสำเร็จเสมอไป แต่มันเป็นเรื่องของการเปิดใจ ยอมรับสิ่งใหม่ๆ กล้าลอง กล้าล้ม และเรียนรู้จากมัน
การคิดค้นนวัตกรรมจะช่วยเพิ่มขีดจำกัดของธุรกิจ
ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงและเข้มข้นของโลกไร้พรมแดน ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่มี disruption กดดันให้องค์กรต่างๆ ต้องคิดค้นนวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อต่อยอดให้กับธุรกิจให้เติบโต เพิ่มยอดขาย และสร้างเส้นทางใหม่ของธุรกิจ นวัตกรรมกลายมาเป็นเรื่อง do or die
หลายๆ ครั้ง ผู้ประกอบการมักจะมองนวัตกรรมการเรียนรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่หรือเป็นอะไรที่แปลกใหม่แตกต่างไปจากเดิม แต่แท้จริงแล้วนวัตกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหม่หรือสิ่งแปลกใหม่ทั้งหมด การจัดการกระบวนการบางอย่างเพื่อทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพหรือศักยภาพที่ดีขึ้นก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้แล้ว และนวัตกรรมที่ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยนี้ เมื่อเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมครั้งใหญ่ที่แตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง และนี่คงถึงเวลาแล้วที่ผู้นำองค์กรจำเป็นต้องแนวคิดพื้นฐานของการเกิดนวัตกรรมการศึกษา มาเพื่อพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ๆ มาเปลี่ยนเกมการบริหารเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จควบคู่ไปกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน…
การประเมินผลงานด้านการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมจาก Global Innovation Index 2017 ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 51 จากอันดับที่ 52 ในปีที่ผ่านมา และอยู่ในอันดับที่ 7 ของกลุ่มประเทศ ASEAN+3
Read more about
Innovation & Creativity