Upskill สำคัญต่อโลกการทำงานในอนาคต และจะเริ่มต้นอย่างไร
Dec 06, 2022
การทำงานในปัจจุบันเราได้ยินคำว่า Upskill กันมากขึ้น เพราะการพัฒนาตัวเองและเรียนรู้ทักษะใหม่ สำคัญต่อการทำงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ มีข้อมูลว่า ผู้คนกว่า 40% มีความกังวลว่าจะสูญเสียงานในอีก 5 ปีข้างหน้าเพราะทักษะเดิมที่ตัวเองมีอาจจะไม่เหมาะกับงานในอนาคต เช่น อาจจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี หรืองานที่ทำอยู่ไม่เหมาะกับยุคดิจิทัล
รายงานของ World Economic Forum ที่ระบุว่า การ Upskill มีความสำคัญต่อการทำงานมากโดยเฉพาะยุคที่เศรษฐกิจต้องเร่งฟื้นตัวจากภาวะถดถอยช่วยโควิด-19 และการพัฒนาทักษะของพนักงาน ยังช่วยกระตุ้น GDP โลกได้มากกว่า 6 ล้านล้านดอลลาร์ และสามารถสร้างงานใหม่ได้ถึง 5.3 ล้านตำแหน่งในปี 2030
ขณะที่ข้อมูลของ LinkedIn ระบุว่า ทักษะการทำงานในรูปแบบเดิมๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วถึง 25% ตั้งแต่ปี 2015 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในปี 2027 เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า ซึ่งมีคำกล่าวหนึ่งที่น่าสนใจมาก จากผู้บริหารของ LinkedIn ที่ระบุว่า “งานกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แม้ว่าคุณไม่ได้เปลี่ยนงานเลยก็ตาม”
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้คนจะเริ่มตระหนักว่าการ Upskill จำเป็นและมีความสำคัญ แต่ก็ยังไม่รู้ด้วยว่า Upskill จริงๆ แล้วคืออะไร? และจะต้องพัฒนาทักษะของตัวเองได้อย่างไร?
Upskill คืออะไร และ เหตุใดจึงสำคัญ
Upskill คือการพัฒนาทักษะเดิมของตัวเองที่มีอยู่ในดียิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มช่องว่างทักษะเล็กๆ ให้เติมเต็มอยู่เสมอ ซึ่งการพัฒนาทักษะ สามารถเป็นได้ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill เพื่อรองรับการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่คุณทำงานอยู่ ซึ่งจะทำให้คุณได้รับการยอมรับมากขึ้น และสร้างโอกาสให้ถูกโปรโมทตำแหน่งให้สูงขึ้นได้ด้วย และที่สำคัญยังทำให้คุณโดดเด่นและแตกต่างจากคนในตำแหน่งเดียวกัน
ตอกย้ำด้วยข้อมูลจาก LinkedIn ที่ระบุว่า กว่า 40% ของการหาบุคคลเข้าทำงาน บริษัทและองค์กรส่วนใหญ่จะมองหาคนที่มี Upskill เพิ่มเติมจากความเชี่ยวชาญหลักด้วย ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นถึง 20% จากปี 2021
ยกตัวอย่างสิ่งที่เรียกว่า Upskill ง่ายๆ เช่น คุณทำงานในอุตสาหกรรมเชื้อเพลิง แต่แนวโน้มของการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอันตรายต่ออาชีพของคุณ ดังนั้น สิ่งที่คุณทำคือการหาความรู้และทักษะอื่นเพิ่มเติม เช่น ความรู้เรื่องพลังงานสะอาด พลังงานไฟฟ้าที่ใช้กับรถยนต์ EV เป็นต้น
ช่องทางในการแสวงหาความรู้ และการเพิ่มพูนทักษะ
•องค์กรขับเคลื่อนพัฒนาบุคลากร
ในปัจจุบันมีหลากหลายวิธีในการที่จะช่วย Upskill เพิ่มทักษะใหม่ๆ ให้ตัวเองมากมาย เบสิกพื้นฐานเลยก็คือ องค์กรหรือบริษัทจะส่งพนักงานไป Upskill ให้ เพื่อรองรับการเติบโตและขยายงานไลน์ใหม่เพื่อให้รอดจากการ Disruption เพราะการพัฒนาคนในองค์กรเดิม ง่ายกว่าสะดวกกว่าที่จะต้องจ้างคนใหม่ หรือแสวงหาคนใหม่มารองรับการขยายงาน
ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่เห็นว่าองค์กรของคุณ เปิดให้ลงชื่อฝึกอบรมพัฒนทักษะใหม่ที่น่าสนใจ แนะนำว่าให้ลงชื่อรีบสมัครทันทีเลย นี่จะเป็นโอกาสทองครั้งสำคัญของคุณจริงๆ ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้คุณได้เรียนรู้สิ่งใหม่แล้ว ยังจะทำให้บริษัทเห็นว่าคุณเป็นคนที่ขยันขันแข็งกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย
**•เรียนรู้และพัฒนาด้วยตัวเอง **
แต่หากว่าองค์กรของคุณไม่มีในส่วนนี้ หรือไม่ได้เพิ่มทักษะในส่วนที่คุณมองเห็นว่าจะทักษะสำหรับในอนาคต คุณก็เริ่มต้นเองได้ เพราะปัจจุบันมีการแนะนำทักษะความรู้ใหม่ๆ ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill บนออนไลน์มากมาย หรือแม้แต่สมัครเข้าไปเรียนอบรมด้วยตัวเองเป็นหมู่คณะก็มีเช่นกัน ซึ่งบางแห่งหลังจากเรียนจบก็มีการมอบใบรับรองความสามารถให้ด้วย ซึ่งจุดนี้คุณสามารถนำไปใช้ในการการันตีความสามารถของคุณเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการโปรโมทตำแหน่งก็ดี หรือเพิ่มฐานเงินเดือนก็ได้ หรือจะนำไปใช้เพื่อสมัครงานที่อื่นก็ได้ เพราะอย่างที่บอกปัจจุบันองค์กรต่างๆ มักแสวงหาคนที่มีการ Upskill ตัวเองเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้ด้วยตัวเอง อาจจะมียากกว่าการผลักดันโดยองค์กร เพราะนั่นหมายถึงการที่คุณต้องเริ่มต้นจากตัวของคุณเอง รวมไปถึงการจัดสรรแบ่งเวลาส่วนตัวมาเรียนรู้สิ่งเหล่านี้นอกเหนือจากงานประจำที่ทำอยู่ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องยากของคนงานที่มีงานเยอะหรือจัดการเวลาไม่เก่งพอ ดังนั้น การจะก้าวผ่านอุปสรรคตรงนี้ไปได้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าให้เริ่มต้นการจัดตารางเวลากิจกรรมต่างๆ ของคุณเอง แบ่งเวลาสัก 1-2 ชั่วโมงในการลงคอร์สเรียนรู้ จะออนไลน์หรือออนไซต์ก็อยู่ที่ความถนัด แต่ที่สำคัญที่สุดคือคำว่า “ไม่มีเวลา” จะต้องไม่ใช่ข้ออ้างเด็ดขาด
ทั้งหมดนี้คุณคงพอเห็นแล้วว่าการ Upskill สำคัญอย่างไรและมีความจำเป็นแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิทัลและสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้ทุกองค์กรทุกคนจะต้องทำการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เพื่อให้มีความสามารถที่เท่าทันกับอนาคต และสำหรับเตรียมรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้น คงถึงเวลาแล้วใช่ไหมล่ะที่คุณต้องเริ่มต้น Upskill ตัวเอง
ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปีของ SEAC ในการพัฒนาบุคลากรและองค์กรในไทย ทำให้ SEAC เป็นเเห่งเดียวที่ได้รับความไว้วางใจจาก partner ที่หลากหลายสาขาวิชาในการถ่ายทอดหลักสูตรพัฒนาบุคลากรที่ทรงประสิทธิภาพให้แก่องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทย หากท่านสนใจ สามารถติดต่อ SEAC หรือขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก👉🏼https://bit.ly/3eb9AQW


Read more about
Agility & Change
Communication & Collaboration
Innovation & Creativity
Business Acumen
Leadership
You may also like
All Blogs
อาหารคลีน สำหรับล้างพิษในองค์กร
การเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุด คือการเปลี่ยนแปลงในวิธีที่ผู้คนมองเห็นและคำนึงถึงความสัมพันธ์และผลกระทบที่มีต่อผู้อื่น การเปลี่ยนแปลงทางกรอบคิด (Mindset) นี้จะช่วยล้างวัฒนธรรมที่เป็นพิษในองค์กร
พฤติกรรมที่เป็นพิษมีค่าใช้จ่ายเท่าไร?
แน่นอนว่า พฤติกรรมที่เป็นพิษบ่อนทำลายวัฒนธรรมที่ดีขององค์กรอย่างรวดเร็ว และผู้นำเองก็รู้ว่าปัญหานี้เป็นเรื่องสำคัญ แต่การแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
จากการเก็บข้อมูลของ Deloitte พบว่า 87% ของผู้นำธุรกิจเชื่อว่าคุณภาพของวัฒนธรรมการทำงานมีความสำคัญ แต่ที่น่าสนใจคือ มีเพียง 28% ของผู้นำธุรกิจที่เชื่อว่าพวกเขาเข้าใจวัฒนธรรมปัจจุบันของตนดี และมีผู้บริหารเพียง 19% เท่านั้นที่เชื่อว่าพวกเขามีวัฒนธรรมที่ "ถูกต้อง"!
มีการศึกษาและประเมินค่าใช้จ่ายของพฤติกรรมที่เป็นพิษ และฮาร์วาร์ดพบว่า พนักงานที่เป็นพิษแต่ละคนมีค่าใช้จ่ายต่อองค์กรประมาณ 12,489 ดอลลาร์ต่อปี ยังไม่รวม เงินจากการถูกฟ้องร้อง บทลงโทษด้านกฎระเบียบ หรือผลผลิตที่ลดลงที่เกิดจากขวัญกำลังใจที่ตกต่ำ และยังมีต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เกิดจากการขาดการมีส่วนร่วมและการขัดขวางการสร้างนวัตกรรม พฤติกรรมที่เป็นพิษที่มีราคาสูงและสร้างปัญหาให้กับองค์กรมากกว่าที่เราคิด!
เรามีกรอบคิดแบบ Inward (Inward Mindset) รึเปล่า?
กรอบคิดแบบ Inward ทำให้เราไม่มองคนอื่นๆ ว่าเป็นคนที่มีความสำคัญเหมือนเรา แต่กลับมองเป็นวัตถุที่จะใช้ตำหนิหรือเพิกเฉย
หากผู้นำพยายามเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมด้วยการกำหนดวิธีการหรือออกกฏกติกาเพื่อแก้ไขพฤติกรรมบางอย่างในองค์กรด้วยกรอบคิดแบบ Inward พนักงานจะรู้สึกเหมือนถูกบังคับ อยากต่อต้าน และหาข้ออ้างมากขึ้น ซึ่งพนักงานจะ “ทำตาม” มากกว่า “ทำด้วยใจ” การเปลี่ยนแปลงใดๆ จึงเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่เท่านั้น เพราะพนักงานเพียงปรับพฤติกรรม ไม่ได้ปรับที่กรอบคิด (Mindset) ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ขับเคลื่อนพฤติกรรม หากเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ พฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นก็คือ การไม่รับรู้ซึ่งกันและกัน ต่างคนต่างทำ ตีบตันหนทาง เพิกเฉยต่อกัน และกล่าวโทษกันไปมา ผลลัพธ์ของพฤติกรรมที่มาจากกรอบคิดแบบ Inward จะเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในองค์กรของเรา
แล้วจะเริ่มล้างพิษในองค์กรอย่างไรดีล่ะ?
เมื่อกรอบคิดแบบ Inward สร้างวัฒนธรรมที่เป็นพิษในองค์กร การเปลี่ยนแปลงไปสู่กรอบคิดแบบ Outward (Outward Mindset) จะเป็นอาหารคลีนที่ช่วยล้างพิษและสร้างวัฒนธรรมที่ดีและยั่งยืนอย่างแท้จริงได้มากกว่า
การมีกรอบคิดแบบ Outward คือการทำให้ผู้คนมองเห็นและคำนึงถึงความสัมพันธ์และผลกระทบที่มีต่อผู้อื่น ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยการมองว่าผู้อื่นมีความสำคัญ และคำนึงถึงความต้องการ วัตถุประสงค์ และความท้าทายของพวกเขา รับผิดชอบต่อผลกระทบของเราที่มีต่อผู้อื่น ผลลัพธ์จะเกิดขึ้นก็คือ มองเห็นและเข้าใจ ร่วมด้วยช่วยกัน เกิดนวัตกรรม มุ่งมั่นทุ่มเท และร่วมรับผิดชอบ
ผลลัพธ์ของกรอบคิดแบบ Outward (Outward Mindset)
ด้วยกรอบคิดแบบ Outward เท่านั้นที่องค์กรสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากกรอบคิดแบบ Inward ได้ วิธีที่เราเห็นผู้อื่นและตัวเราเอง จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อพฤติกรรมและความสามารถของเราในการมองเห็นโอกาสใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมและเพื่อเผชิญกับความท้าทายร่วมกัน
ด้วยประสบการณ์กว่า 40 ปีในการทำงานกับองค์กรต่างๆ ทั่วโลก สถาบัน Arbinger Institute นำกรอบคิดแบบ Outward มาช่วยเหลือบุคคลและองค์กรต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดแตกต่างเป็นอย่างมากและได้ผล ทั้งยังสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน ปลอดภัย และสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นในองค์กรได้อีกด้วย
คุณล่ะ… พร้อมจะรับอาหารคลีนสำหรับล้างพิษในองค์กรหรือยัง?
SEAC เป็นเเห่งเดียวที่ได้รับลิขสิทธิ์ Outward Mindset ในประเทศไทย ที่ได้รับความไว้วางใจจาก The Arbinger Institute ในการถ่ายทอดหลักสูตรที่ทรงประสิทธิภาพนี้ให้แก่องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปีในการสร้างหลักสูตรด้านการพัฒนาบุคลากรและทีม อีกทั้งเทคนิคพิเศษที่ได้รับจากการ Implement เครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพแก่องค์กร SEAC มั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถสร้างบุคลากรที่ดี และทีมที่มีศักยภาพสูงเพื่อสนับสนุนการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดให้แก่องค์กรของท่าน ถ้าหากท่านสนใจ ด้านการพัฒนาบุคลากรในองค์กร ติดต่อ SEAC หรือ รับรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่. 👉🏼คลิก
ผู้นำรูปแบบใหม่ที่โลกต้องการ
จากการเก็บข้อมูลของ Ken Blanchard Company พบว่า มี พนักงาน 75% กล่าวว่า “ส่วนที่เครียดที่สุดในงานของพวกเขาก็คือ หัวหน้า!” และโควิดก็ทิ้งปัญหาเอาไว้มากมาย นี่ไม่ใช่การกล่าวเกินจริง และเมื่อพนักงานกลับมาที่ทำงาน ผู้นำก็ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น…
· ระดับความวิตกกังวลและความเครียดที่สูงขึ้น
· ระดับผลงานที่อาจลดลงของพนักงาน
· การปรับตัวจาก WFH มาทำงานในที่ทำงาน
· ความสัมพันธ์ที่ห่างเหินของพนักงาน
· การลาออกของพนักงาน
ผู้นำเท่าทันทุกสถานการณ์ (Servant Leader) คือ ผู้นำที่อุทิศให้กับการให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพและการเติบโตของผู้คน
และ 5 วิธีต่อไปนี้คือสิ่งที่ทำให้คุณสามารถเป็นผู้นำเท่าทันทุกสถานการณ์ (Servant Leader) ได้
มีเมตตา (Be Compassionate)
ผู้นำเท่าทันทุกสถานการณ์ คือ ผู้นำที่ใจดี ปฏิบัติต่อคนของพวกเขาอย่างอ่อนโยน เข้าใจคนของพวกเขา และจะสร้างประสบการณ์และสภาพแวดล้อมที่ดีที่คนของพวกเขาสามารถเจริญเติบโตได้
แค่ฟังก็เป็นของขวัญ! ลองฟังอย่างตั้งใจและพร้อมที่จะเรียนรู้ดูสิ คอยไต่ถามสารทุกข์สุกดิบของพนักงานของคุณ มันจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจได้
เป็นที่ไว้วางใจได้ (Be Trustworthy)
ผู้นำเท่าทันทุกสถานการณ์ว่า ความไว้วางใจเป็นรากฐานของความสัมพันธ์ที่ประสบความสำเร็จ แต่น่าตกใจที่… มีพนักงานเพียง 42% เท่านั้น ที่ไว้ใจหัวหน้าของพวกเขามากกว่าคนแปลกหน้า สรุปง่ายๆ คือ ไม่ถึงครึ่ง!!!
พนักงานต้องการให้ผู้นำของพวกเขาเป็นที่ไว้วางใจได้ สำหรับผู้นำผู้รับใช้ นี่หมายถึงความสามารถ ความน่าเชื่อถือ ความเห็นอกเห็นใจ และสามารถพึ่งพาได้
มีความอดทน (Be Patient)
มีการศึกษาข้อมูลพบว่า ในช่วง WFH ผู้คนมีชั่วโมงทำงานเพิ่มขึ้นถึง 30% และผลที่ตามมาก็คือ มีพนักงานมากถึง 40% กำลังประสบกับภาวะหมดไฟ
ผู้นำเท่าทันทุกสถานการณ์จะระลึกถึงสิ่งนี้และให้เวลาพนักงานอย่างเพียงพอในการเติมพลังและฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ เพื่อให้พนักงานสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้
ความเป็นหนึ่งเดียวกัน (Be Inclusive)
ผู้นำเท่าทันทุกสถานการณ์จะทำให้ทุกคนรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าผู้นำจะแสดงให้เห็นถึงความใจกว้างและจะสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยทางจิตใจที่ทุกคนสามารถเป็นตัวของตัวเองได้ จะเคารพ ให้เกียรติ และปฏิบัติกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน พร้อมที่จะเรียนรู้และรับรู้ถึงความหลากหลาย ความเสมอภาค และการไม่แบ่งแยก ด้วยความสนใจใคร่รู้และเปิดใจ
คอยให้ความช่วยเหลือ (Be Accommodating)
การกลับมาจาก WFH ของพนักงานเป็นช่วงเวลาสำคัญในการเป็นผู้นำผู้เท่าทันทุกสถานการณ์ ผู้นำบางคนอาจรู้สึกไม่สบายใจที่จะปล่อยให้คนทำงานนอกสถานที่เพราะไม่สามารถตรวจสอบได้ แต่ผู้นำผู้เท่าทันทุกสถานการณ์จะทำงานร่วมกับพนักงานเพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมกับทุกคน
การ WFH แสดงให้เห็นว่าพนักงานก็สามารถทำงานจากที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้นำจึงสามารถมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์และการมีส่วนร่วมมากกว่าการเฝ้าติดตามว่าพนักงานมีงานยุ่งแค่ไหน
โลกหลังการระบาดของ COVID-19 กำลังเกิดขึ้น มันจะเป็นยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พนักงานจะมีอิสระที่มากขึ้น รวมถึงการเกิดนวัตกรรมแบบก้าวกระโดด ถึงเวลาของผู้นำที่แท้จริงแล้ว ผู้นำที่จะดึงเอาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวคนของพวกเขาออกมา ผู้นำที่สามารถสร้างผลลัพธ์และได้ใจพนักงานด้วย – ผู้นำเท่าทันทุกสถานการณ์ (Servant Leader)
แล้วคุณล่ะ พร้อมจะเป็นผู้นำเท่าทันทุกสถานการณ์ (Servant Leader) แล้วหรือยัง?
ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปีของ SEAC ในการพัฒนาบุคลากรและองค์กรในไทย ทำให้ SEAC เป็นเเห่งเดียวที่ได้รับความไว้วางใจจาก The Ken Blanchard ในการถ่ายทอดหลักสูตรพัฒนาภาวะผู้นำที่ทรงประสิทธิภาพอย่าง SLII® และ Self Leadership ให้แก่องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทย ถ้าหากท่านสนใจ การพัฒนาบุคลากรในองค์กรด้วย SLII® และ Self Leadership สามารถติดต่อ SEAC หรือ
รับรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ 👉🏼คลิก
จะ Transform องค์กรทั้งที จะทำอย่างไรให้สำเร็จ?
ท่ามกลางกระแสของโลกในปัจจุบัน โรคระบาด สงคราม สภาวะทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และการแข่งขันที่สูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงไปได้ และการเปลี่ยนแปลงก็วิ่งมาหาพวกเราบ่อยกว่าที่คุณคิด จากการเก็บข้อมูลของ WalkMe พบว่า มีองค์กรที่ Transform ล้มเหลวจากสูงถึง 66% หรือเกินกว่าครึ่ง!!! .
.
มีเพียง 34% เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ ต้องทำอย่างไร?
.
หากองค์กรต้องการให้พนักงานปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง พวกเขาจะต้อง:
มีการสื่อสารแบบสองทาง
ทำให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่าด้วยการขอความคิดเห็นจากพวกเขา
อยู่เคียงข้างพนักงานให้สามารถผ่านทุกย่างก้าวของการเปลี่ยนแปลง
สร้างกลยุทธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อพนักงานมากขึ้น
.
4 ปัจจัยที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงดีขึ้น
**ระยะเวลา **ระยะเวลาเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิกฤตการณ์ที่เราต้องเผชิญ จาก Harvard Business Review แสดงให้เห็นว่า โครงการระยะยาวที่มีการตรวจสอบบ่อยครั้ง จะมีอัตราความสำเร็จที่สูงกว่าโครงการระยะสั้นที่ไม่มีการตรวจสอบ
**ความซื่อตรง **องค์กรควรเลือกผู้นำทีมที่สามารถนำพาพนักงานไปสู่ความสำเร็จ ที่สำคัญที่สุด ผู้นำควรชี้แจงบทบาทและความรับผิดชอบของพนักงานให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่วางไว้
ความมุ่งมั่น ความมุ่งมั่นเป็นความรู้สึกร่วมกันระหว่างองค์กรและพนักงาน ในเมื่อองค์กรคาดหวังให้พนักงานปฏิบัติตามกลยุทธ์ องค์กรเองก็ควรให้ความสำคัญต่อพนักงานทุกคนด้วยเช่นกัน ไม่ใช่แค่กับระดับหัวหน้าทีมหรือผู้จัดการ แต่เป็น ทุกคน! เพราะสิ่งที่คุณมองว่าเป็นกลยุทธ์ที่ดี พนักงานอาจไม่ได้คิดเช่นนั้น
ความพยายาม ในขณะที่กำลังวางแผนสำหรับการเปลี่ยนแปลง องค์กรมักหลงลืมไปว่าพนักงานของตนมีหน้าที่รับผิดชอบประจำวันอยู่แล้ว การใช้กลยุทธ์ที่ส่งผลให้ปริมาณงานของพนักงานเพิ่มขึ้นถึง 30-40% จะทำให้เกิดการต่อต้านและการเปลี่ยนแปลงก็จะล้มเหลว จึงควรมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากงานประจำไม่ควรมีมากจนเกินไป ถ้าเป็นไปได้ พยายามอย่าให้เกิน 10% ของปริมาณงานของพนักงานแต่ละคน .
.
แล้วอะไรทำให้การเปลี่ยนแปลงล้มเหลว?
1 ใน 3 ของ CEO ยอมรับว่าพวกเขาล้มเหลวในการบรรลุผลจากการเปลี่ยนแปลงในอดีตเมื่อมีการนำกลยุทธ์ใหม่ๆ มาใช้ภายในองค์กร ดังนั้น อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงล้มเหลว .
การประเมินการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำงานที่ต่ำไป อุปสรรคที่พบบ่อยที่สุดของความล้มเหลวในการเปลี่ยนแปลงคือ 37% ของผู้บริหารมักจะมองข้ามความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำงานภายในองค์กร และผลกระทบที่พนักงานต้องเผชิญระหว่างขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง .
การต่อต้านจากพนักงาน ส่วนที่สำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงองค์กรก็คือความร่วมมือจากพนักงาน หากพนักงานไม่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงแล้ว การเปลี่ยนแปลงจะไม่สำเร็จ ด้วยเหตุนี้ การต่อต้านของพนักงานในการเปลี่ยนแปลงที่ ผนวกกับการขาดการสนับสนุนด้านการจัดการจากผู้บริหาร จะทำให้การเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 70% ประสบความล้มเหลว
.
ขาดการสื่อสารจากผู้บริหารระดับสูง หากผู้บริหารขาดการสื่อสาร ความชัดเจน และไม่สามารถจัดการกับปริมาณงานได้ จะทำให้เกิดวิกฤตภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงาน ซึ่งเป็นสภาวะของความอ่อนล้าทั้งทางร่างกายและจิตใจ จากการสำรวจของ Gallup กับพนักงาน full time กว่า 7,500 คน พบว่า 2 ใน 3 ของพนักงานรู้สึกหมดไฟในการทำงาน ผลที่ได้คือ ภาวะหมดไฟของพนักงานทำให้สูญเสียประสิทธิภาพการทำงาน การมีส่วนร่วม แรงจูงใจ ความอดทน และยังทำให้ความเครียดเพิ่มขึ้นด้วย
คุณสามารถทำอะไรเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงประสบความสำเร็จ? การจะทำให้การเปลี่ยนแปลงประสบความสำเร็จได้นั้น คุณจำเป็นต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่า การเปลี่ยนแปลงจะนำไปสู่อะไร แล้วกำหนดผลของการเปลี่ยนแปลงนั้นเพื่อนำไปสู่ทิศทางและแผนกลยุทธ์ขององค์กรที่ชัดเจน ที่สำคัญ อย่าลืมพนักงานของคุณ คอยสนับสนุน ให้กำลังใจ ให้ความสำคัญ และอยู่เคียงข้างพวกเขาตลอดการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดทีมงานที่แข็งแกร่งและมุ่งมั่น และที่ขาดไปไม่ได้ ต้องคอยเฝ้าติดตามและจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นด้วย .
.
องค์กรของคุณพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการ Transform หรือยัง?
.
ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปีของ SEAC ในการพัฒนาบุคลากรและองค์กร ทำให้ SEAC เป็นแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรระดับโลกมากมายที่จะให้สิทธิ์ในการนำไปพัฒนาแก่องค์กรต่าง ๆ ถ้าหากท่านสนใจการพัฒนาบุคลากรในองค์กรด้วยวิธีการ รูปแบบ และเครื่องมือที่สามารถเห็นผลสัมฤทธิ์ได้จริง ถ้าหากท่านสนใจ สามารถติดต่อ SEAC หรือขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก👉🏼https://bit.ly/3eb9AQW