จะ Transform องค์กรทั้งที จะทำอย่างไรให้สำเร็จ?
Dec 06, 2022
ท่ามกลางกระแสของโลกในปัจจุบัน โรคระบาด สงคราม สภาวะทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และการแข่งขันที่สูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงไปได้ และการเปลี่ยนแปลงก็วิ่งมาหาพวกเราบ่อยกว่าที่คุณคิด จากการเก็บข้อมูลของ WalkMe พบว่า มีองค์กรที่ Transform ล้มเหลวจากสูงถึง 66% หรือเกินกว่าครึ่ง!!! .
.
มีเพียง 34% เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ ต้องทำอย่างไร?
.
หากองค์กรต้องการให้พนักงานปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง พวกเขาจะต้อง:
มีการสื่อสารแบบสองทาง
ทำให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่าด้วยการขอความคิดเห็นจากพวกเขา
อยู่เคียงข้างพนักงานให้สามารถผ่านทุกย่างก้าวของการเปลี่ยนแปลง
สร้างกลยุทธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อพนักงานมากขึ้น
.
4 ปัจจัยที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงดีขึ้น
**ระยะเวลา **ระยะเวลาเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิกฤตการณ์ที่เราต้องเผชิญ จาก Harvard Business Review แสดงให้เห็นว่า โครงการระยะยาวที่มีการตรวจสอบบ่อยครั้ง จะมีอัตราความสำเร็จที่สูงกว่าโครงการระยะสั้นที่ไม่มีการตรวจสอบ
**ความซื่อตรง **องค์กรควรเลือกผู้นำทีมที่สามารถนำพาพนักงานไปสู่ความสำเร็จ ที่สำคัญที่สุด ผู้นำควรชี้แจงบทบาทและความรับผิดชอบของพนักงานให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่วางไว้
ความมุ่งมั่น ความมุ่งมั่นเป็นความรู้สึกร่วมกันระหว่างองค์กรและพนักงาน ในเมื่อองค์กรคาดหวังให้พนักงานปฏิบัติตามกลยุทธ์ องค์กรเองก็ควรให้ความสำคัญต่อพนักงานทุกคนด้วยเช่นกัน ไม่ใช่แค่กับระดับหัวหน้าทีมหรือผู้จัดการ แต่เป็น ทุกคน! เพราะสิ่งที่คุณมองว่าเป็นกลยุทธ์ที่ดี พนักงานอาจไม่ได้คิดเช่นนั้น
ความพยายาม ในขณะที่กำลังวางแผนสำหรับการเปลี่ยนแปลง องค์กรมักหลงลืมไปว่าพนักงานของตนมีหน้าที่รับผิดชอบประจำวันอยู่แล้ว การใช้กลยุทธ์ที่ส่งผลให้ปริมาณงานของพนักงานเพิ่มขึ้นถึง 30-40% จะทำให้เกิดการต่อต้านและการเปลี่ยนแปลงก็จะล้มเหลว จึงควรมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากงานประจำไม่ควรมีมากจนเกินไป ถ้าเป็นไปได้ พยายามอย่าให้เกิน 10% ของปริมาณงานของพนักงานแต่ละคน .
.
แล้วอะไรทำให้การเปลี่ยนแปลงล้มเหลว?
1 ใน 3 ของ CEO ยอมรับว่าพวกเขาล้มเหลวในการบรรลุผลจากการเปลี่ยนแปลงในอดีตเมื่อมีการนำกลยุทธ์ใหม่ๆ มาใช้ภายในองค์กร ดังนั้น อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงล้มเหลว .
การประเมินการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำงานที่ต่ำไป อุปสรรคที่พบบ่อยที่สุดของความล้มเหลวในการเปลี่ยนแปลงคือ 37% ของผู้บริหารมักจะมองข้ามความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำงานภายในองค์กร และผลกระทบที่พนักงานต้องเผชิญระหว่างขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง .
การต่อต้านจากพนักงาน ส่วนที่สำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงองค์กรก็คือความร่วมมือจากพนักงาน หากพนักงานไม่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงแล้ว การเปลี่ยนแปลงจะไม่สำเร็จ ด้วยเหตุนี้ การต่อต้านของพนักงานในการเปลี่ยนแปลงที่ ผนวกกับการขาดการสนับสนุนด้านการจัดการจากผู้บริหาร จะทำให้การเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 70% ประสบความล้มเหลว
.
ขาดการสื่อสารจากผู้บริหารระดับสูง หากผู้บริหารขาดการสื่อสาร ความชัดเจน และไม่สามารถจัดการกับปริมาณงานได้ จะทำให้เกิดวิกฤตภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงาน ซึ่งเป็นสภาวะของความอ่อนล้าทั้งทางร่างกายและจิตใจ จากการสำรวจของ Gallup กับพนักงาน full time กว่า 7,500 คน พบว่า 2 ใน 3 ของพนักงานรู้สึกหมดไฟในการทำงาน ผลที่ได้คือ ภาวะหมดไฟของพนักงานทำให้สูญเสียประสิทธิภาพการทำงาน การมีส่วนร่วม แรงจูงใจ ความอดทน และยังทำให้ความเครียดเพิ่มขึ้นด้วย
คุณสามารถทำอะไรเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงประสบความสำเร็จ? การจะทำให้การเปลี่ยนแปลงประสบความสำเร็จได้นั้น คุณจำเป็นต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่า การเปลี่ยนแปลงจะนำไปสู่อะไร แล้วกำหนดผลของการเปลี่ยนแปลงนั้นเพื่อนำไปสู่ทิศทางและแผนกลยุทธ์ขององค์กรที่ชัดเจน ที่สำคัญ อย่าลืมพนักงานของคุณ คอยสนับสนุน ให้กำลังใจ ให้ความสำคัญ และอยู่เคียงข้างพวกเขาตลอดการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดทีมงานที่แข็งแกร่งและมุ่งมั่น และที่ขาดไปไม่ได้ ต้องคอยเฝ้าติดตามและจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นด้วย .
.
องค์กรของคุณพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการ Transform หรือยัง?
.
ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปีของ SEAC ในการพัฒนาบุคลากรและองค์กร ทำให้ SEAC เป็นแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรระดับโลกมากมายที่จะให้สิทธิ์ในการนำไปพัฒนาแก่องค์กรต่าง ๆ ถ้าหากท่านสนใจการพัฒนาบุคลากรในองค์กรด้วยวิธีการ รูปแบบ และเครื่องมือที่สามารถเห็นผลสัมฤทธิ์ได้จริง ถ้าหากท่านสนใจ สามารถติดต่อ SEAC หรือขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก👉🏼https://bit.ly/3eb9AQW
Read more about
Agility & Change
Communication & Collaboration
Leadership
Productivity
You may also like
All Blogs
ผู้นำรูปแบบใหม่ที่โลกต้องการ
จากการเก็บข้อมูลของ Ken Blanchard Company พบว่า มี พนักงาน 75% กล่าวว่า “ส่วนที่เครียดที่สุดในงานของพวกเขาก็คือ หัวหน้า!” และโควิดก็ทิ้งปัญหาเอาไว้มากมาย นี่ไม่ใช่การกล่าวเกินจริง และเมื่อพนักงานกลับมาที่ทำงาน ผู้นำก็ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น…
· ระดับความวิตกกังวลและความเครียดที่สูงขึ้น
· ระดับผลงานที่อาจลดลงของพนักงาน
· การปรับตัวจาก WFH มาทำงานในที่ทำงาน
· ความสัมพันธ์ที่ห่างเหินของพนักงาน
· การลาออกของพนักงาน
ผู้นำเท่าทันทุกสถานการณ์ (Servant Leader) คือ ผู้นำที่อุทิศให้กับการให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพและการเติบโตของผู้คน
และ 5 วิธีต่อไปนี้คือสิ่งที่ทำให้คุณสามารถเป็นผู้นำเท่าทันทุกสถานการณ์ (Servant Leader) ได้
มีเมตตา (Be Compassionate)
ผู้นำเท่าทันทุกสถานการณ์ คือ ผู้นำที่ใจดี ปฏิบัติต่อคนของพวกเขาอย่างอ่อนโยน เข้าใจคนของพวกเขา และจะสร้างประสบการณ์และสภาพแวดล้อมที่ดีที่คนของพวกเขาสามารถเจริญเติบโตได้
แค่ฟังก็เป็นของขวัญ! ลองฟังอย่างตั้งใจและพร้อมที่จะเรียนรู้ดูสิ คอยไต่ถามสารทุกข์สุกดิบของพนักงานของคุณ มันจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจได้
เป็นที่ไว้วางใจได้ (Be Trustworthy)
ผู้นำเท่าทันทุกสถานการณ์ว่า ความไว้วางใจเป็นรากฐานของความสัมพันธ์ที่ประสบความสำเร็จ แต่น่าตกใจที่… มีพนักงานเพียง 42% เท่านั้น ที่ไว้ใจหัวหน้าของพวกเขามากกว่าคนแปลกหน้า สรุปง่ายๆ คือ ไม่ถึงครึ่ง!!!
พนักงานต้องการให้ผู้นำของพวกเขาเป็นที่ไว้วางใจได้ สำหรับผู้นำผู้รับใช้ นี่หมายถึงความสามารถ ความน่าเชื่อถือ ความเห็นอกเห็นใจ และสามารถพึ่งพาได้
มีความอดทน (Be Patient)
มีการศึกษาข้อมูลพบว่า ในช่วง WFH ผู้คนมีชั่วโมงทำงานเพิ่มขึ้นถึง 30% และผลที่ตามมาก็คือ มีพนักงานมากถึง 40% กำลังประสบกับภาวะหมดไฟ
ผู้นำเท่าทันทุกสถานการณ์จะระลึกถึงสิ่งนี้และให้เวลาพนักงานอย่างเพียงพอในการเติมพลังและฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ เพื่อให้พนักงานสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้
ความเป็นหนึ่งเดียวกัน (Be Inclusive)
ผู้นำเท่าทันทุกสถานการณ์จะทำให้ทุกคนรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าผู้นำจะแสดงให้เห็นถึงความใจกว้างและจะสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยทางจิตใจที่ทุกคนสามารถเป็นตัวของตัวเองได้ จะเคารพ ให้เกียรติ และปฏิบัติกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน พร้อมที่จะเรียนรู้และรับรู้ถึงความหลากหลาย ความเสมอภาค และการไม่แบ่งแยก ด้วยความสนใจใคร่รู้และเปิดใจ
คอยให้ความช่วยเหลือ (Be Accommodating)
การกลับมาจาก WFH ของพนักงานเป็นช่วงเวลาสำคัญในการเป็นผู้นำผู้เท่าทันทุกสถานการณ์ ผู้นำบางคนอาจรู้สึกไม่สบายใจที่จะปล่อยให้คนทำงานนอกสถานที่เพราะไม่สามารถตรวจสอบได้ แต่ผู้นำผู้เท่าทันทุกสถานการณ์จะทำงานร่วมกับพนักงานเพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมกับทุกคน
การ WFH แสดงให้เห็นว่าพนักงานก็สามารถทำงานจากที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้นำจึงสามารถมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์และการมีส่วนร่วมมากกว่าการเฝ้าติดตามว่าพนักงานมีงานยุ่งแค่ไหน
โลกหลังการระบาดของ COVID-19 กำลังเกิดขึ้น มันจะเป็นยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พนักงานจะมีอิสระที่มากขึ้น รวมถึงการเกิดนวัตกรรมแบบก้าวกระโดด ถึงเวลาของผู้นำที่แท้จริงแล้ว ผู้นำที่จะดึงเอาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวคนของพวกเขาออกมา ผู้นำที่สามารถสร้างผลลัพธ์และได้ใจพนักงานด้วย – ผู้นำเท่าทันทุกสถานการณ์ (Servant Leader)
แล้วคุณล่ะ พร้อมจะเป็นผู้นำเท่าทันทุกสถานการณ์ (Servant Leader) แล้วหรือยัง?
ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปีของ SEAC ในการพัฒนาบุคลากรและองค์กรในไทย ทำให้ SEAC เป็นเเห่งเดียวที่ได้รับความไว้วางใจจาก The Ken Blanchard ในการถ่ายทอดหลักสูตรพัฒนาภาวะผู้นำที่ทรงประสิทธิภาพอย่าง SLII® และ Self Leadership ให้แก่องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทย ถ้าหากท่านสนใจ การพัฒนาบุคลากรในองค์กรด้วย SLII® และ Self Leadership สามารถติดต่อ SEAC หรือ
รับรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ 👉🏼คลิก
Recommended courses