topbanner-blog-food-passion

ถอดเบื้องหลังความสำเร็จ ธุรกิจ Food Passion

Sep 28, 2022

ถอดเบื้องหลังความสำเร็จ ธุรกิจ Food Passion บริษัทเจ้าของร้านอาหารแบรนด์ดัง บาร์บีคิวพลาซ่า, จุ่มแซ่บฮัท, ฌานา, สเปซ คิว และ เรดซัน "การพาธุรกิจฝ่าวิกฤตและเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด สิ่งสำคัญที่สุด ไม่ใช่ว่าเราตั้งเป้าขนาดไหน แต่เกิดจากมุมมองของคนเก่งที่มารวมกันเป็นทีมและมีจุดมุ่งหมายร่วมกันที่จะนำพาทั้งทีมให้ไปสู่เป้าหมายที่มีร่วมกัน" คุณเป้ ชาตยา สุพรรณพงศ์ ผู้บริหารของบริษัท Food Passion ที่เคยให้สัมภาษณ์กับ SEAC . ลองมาเรียนรู้การนำ Outward Mindset ไปใช้ในองค์กร เพื่อเสริมรากฐานทีมที่แข็งแกร่งจากธุรกิจ Food Passion แม้ในช่วงที่องค์กรกำลังเผชิญกับวิกฤต คนในองค์กรก็ยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นและสามารถพิชิตผลลัพธ์ที่มากกว่าเดิมได้ . มาดูกันว่า Outward Mindset ช่วยยกระดับศักยภาพองค์กรได้อย่างไรบ้าง . 1. ผลักดัน Collaboration สิ่งที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ เมื่อต้องเผชิญกับการปิดเมืองในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่องค์กรกลับสามารถผลักดัน โครงการ 16 เรื่องออกมาได้ภายใน 2 เดือน จากที่วางแผนไว้ตอนแรกว่าจะทำได้ใน 2 ปี กุญแจที่ขับเคลื่อนผลลัพธ์นี้ให้ทำได้อย่างรวดเร็ว คือ การรวมคนเก่งเข้าด้วยกันเป็นทีมเวิร์ค ที่ผ่านมา หลายองค์กรพบกับปัญหาความเป็น silos และตัดสินใจทุ่มเงินจัด Team building ทุกปี จัดเทรนนิ่งส่งเสริมการทำงานแบบ Cross-functional Communication หรือแม้กระทั่งรื้อระบบโครงสร้างองค์กรใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม หากไม่เริ่มเสริมรากฐานด้วยการปรับที่วิธีคิดของคนในองค์กรให้ถูกต้องก่อน ความเป็น silos ในองค์กรจะสลายได้ยาก แต่หากคนในองค์กรมี Outward Mindset ทุกคนจะทำงานเป็นทีมและมุ่งไปที่ผลลัพธ์โดยรวมด้วยใจที่อยากจะไป . 2. คนในองค์กรเกิด Engagement แน่นอนว่า ในช่วงวิกฤตทุกคนต้องเจอกับงานหนักและในปริมาณมาก ยากที่จะหลีกเลี่ยงความเครียดสั่งสม หากคนในทีมขาดวิธีคิดที่มองคนทุกคนเป็น "คน" ก็จะเกิดความขัดแย้งในองค์กรได้ง่าย และทำให้ขาดความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) เมื่อคนในทีมมีความเห็นต่างกัน ไม่เข้าใจมุมมองของเพื่อนร่วมงาน ก็จะทำให้ทีมทำงานยากขึ้น . หากองค์กรที่มีแต่คนที่คิดแบบ Inward จะมีแต่การเรียกร้องจากองค์กร แต่ละคนมุ่งเน้นที่ตัวเองสำคัญที่สุด โดยไม่สนใจว่าคนอื่นก็มีความต้องการ ความหวัง ความสำคัญเหมือนกันกับเรา ไม่สนใจสถานการณ์ของคนอื่นว่าจะมีความยากลำบากขนาดไหน เพราะสิ่งเดียวที่สนใจคือวัตถุประสงค์และความต้องการของตัวเอง ส่งผลให้องค์กรพัฒนาและไปต่อได้ยากมาก . โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์วิกฤต เพราะจะมีแต่การกล่าวโทษกันเพื่อหาคนทำผิด หลายครั้งที่เราสนใจทำให้งานตนเองสำเร็จ บรรลุเป้าของเราเอง แต่กลับสร้างผลกระทบทางลบให้กับคนรอบข้างมากมาย ด้วยเหตุนี้ ก็อาจไม่สามารถทำให้เราสำเร็จได้แบบทวีคูณ . ดังนั้น องค์กรที่พัฒนาคนในองค์กรให้มีวิธีคิดแบบ Outward Mindset คนจะทุ่มเทมุ่งสู่เป้าหมายองค์กรโดยรวม คนในองค์กรจะมี Accountability รับผิดชอบผลกระทบที่เกิดกับตัวเองและคนรอบข้าง เมื่อไหร่ที่เราใส่ใจความรู้สึกของคนอื่นเหมือนที่เราใส่ใจในความรู้สึกของตัวเอง เราจะมองคนรอบข้างด้วยความเข้าใจ . ดังนั้น เวลาที่เราทำอะไรก็ตาม เราจะมองว่าจะส่งผลทางบวกหรือลบกับคนรอบข้าง จะสนใจผลลัพธ์ที่เรามีร่วมกัน และหากคุณเป็นผู้บริหาร ลูกน้องก็จะกล้าเสนอความคิด เกิดความร่วมมือในองค์กร ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายร่วมกัน . 3. เร่งการเติบโต Exponential Growth หากองค์กรที่มีแต่คนที่คิดแบบ Inward ทุกคนจะมุ่งเน้นไปที่ภาพลักษณ์ของแต่ละคนเอง จะคิดเข้าข้างตัวเองก่อนว่าเราทำถูก และไม่หาทางมองปัญหาให้กระจ่างชัด มองว่าหากการปรับปรุงพัฒนาทำให้ตัวเองดูไม่ดีก็จะไม่ยอมทำ เมื่อมีความคิดเช่นนี้ การเติบโตขององค์กรในระยะยาวก็จะเป็นไปได้ลำบาก และยากในการฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ในช่วงวิกฤตไปได้ . อีกทั้ง การผลักดันโครงการของกลุ่มบริษัท Food Passion ในช่วงโควิด-19 ออกมาได้อย่างรวดเร็วภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากร คน และเงินทุน ด้วยการผสมผสานการทำงานแบบทีม scrum ที่รวมคนจากต่างตำแหน่งเข้ามาประมาณ 5-10 คนต่อทีม เพื่อช่วยให้การทำงานคล่องตัว ปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว สร้างบรรยากาศให้ทุกคนกล้าที่จะลอง กล้าที่จะผิดพลาด และทุกคนในทีมต้องสามารถมีอำนาจในการตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างเร็ว . แต่หากองค์กรนำรูปแบบการทำงานแบบ scrum มาใช้แต่ไม่มีการปรับวิธีคิดก่อน สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ การทะเลาะกัน ความขัดแย้งกัน แก่งแย่งชิงดี แต่หากเรามีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดก่อน พฤติกรรมต่างๆ จะสอดคล้องโดยธรรมชาติ แต่ละคนจะไม่ได้มองว่าใครเป็นอุปสรรค หลายครั้งต้องเสียสละตัวเองในบางเรื่อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์โดยรวมที่ทีมมีร่วมกัน . ภาพของวัฒนธรรมแห่ง Outward Mindset ของคนในองค์กรที่ทุกคนเห็นคนเป็นคนเหมือนกัน ทุกคนมีข้อตกลงร่วมกันว่าจะทำงานอย่างมีวิธีคิดแบบ Outward ร่วมกันเพื่อส่งเสริมให้ทุกคนกล้าลอง กล้าผิด ช่วยกันหาทางออกเพื่อแก้ปัญหา องค์กรถึงจะสามารถปรับเปลี่ยนได้สำเร็จ นั่นเอง

Read more about

Success Story